วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตอนที่ 1

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ เหรียญตราอันเป็นเครื่องประดับยศ โดยประมุขของรัฐเป็นผู้สร้างขึ้น เพื่อเป็นการแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ ยศถาบรรดาศักดิ์หรือความดีความชอบต่าง ๆ 

ในสมัยก่อน เครื่องหมายที่เป็นการแสดงถึงตำแหน่งหน้าที่ หรือยศถาบรรดาศักดิ์ จะอยู่ในรูปของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคหรือเครื่องประดับ เช่น หีบทอง เชี่ยนหมาก พาน แหวน เสื้อคลุม เรียกว่า "เครื่องยศ"

เครื่องยศของเครื่องราชอิสรยาภรณ์ "ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

เมื่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ต้องเตรียมรับมือกับลัทธิจักรวรรดินิยมที่เริ่มแพร่เข้ามาสู่โลกตะวันออก รวมทั้งราชอาณาจักรสยาม ณ เวลานั้นด้วย พระองค์มีแนวพระราชดำริที่จะปฏิรูปบ้านเมืองไปสู่ความทันสมัย เพื่อไม่ให้เป็นข้ออ้างให้ชาวตะวันตกยึดบ้านยึดเมืองเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก และเหตุการณ์นี้เอง จึงกลายเป็น "จุดเปลี่ยนของเครื่องยศของสยาม" และได้ตกทอดมาถึงในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริให้สร้างดาราติดเสื้อ โดยนำลายตราตำแหน่งมาทำลายดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้เรียกดาราเหล่านั้นว่า ตรา” 

ภายหลังจากที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราไอยราพตเครื่องต้นในปี พ.ศ. 2400 แล้ว ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดาราตราคชสีห์ ดารานพรัตน ดาราช้างเผือก ดารามหามงกุฎ เหรียญเฉลิมพระชันษาครบ 60 ปีบริบูรณ์ ดาราตราราชสีห์

ตราคชสีห์
ดารานพรัตน
ดาราช้างเผือก
ดารามงกุฎ
ดาราราชสีห์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทยมีวิวัฒนาการมาตามลำดับ  เช่น
  • ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาให้เรียกเครื่องประดับสำหรับยศว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" เป็นครั้งแรกและทรงพระกรุณาให้มีสายสะพายประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตลอดจนให้มีประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ยกเว้นบางชั้นตราและบางชนิดที่ไม่มีประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์แต่ก็จะต้องลงประกาศนามผู้ได้รับพระราชทานในราชกิจจานุเบกษา 
  • พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์เพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่ยังคงใช้สำหรับ พระราชทานเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ สืบมาถึงปัจจุบัน
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอกเปรม ติณณสูลานนท์
ประธานองคมนตรี ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบด้วย
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณยิ่งนพรัตนราชวราภรณ์
2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายหน้า)
3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี (ชั้นเสนางคบดี)
4. เหรียญเรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ชั้นที่ 1)
5. เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน)
6. เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามมหาเอเชียบูรพา)
7. เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ชั้นที่ 1)
8.เหรียญที่ระลึกเนื่องในวโรกาสพิธีกาญจนาภิเษก (พ.ศ.2539)
9. เหรียญที่ระลึกเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ 6 รอบ (พ.ศ.2542)


แล้วเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของไทย แบ่งได้อย่างไร? 
มีอะไรบ้าง?
โปรดติดตามตอนต่อไป :)
แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น