วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

2 วัน...ตัดสินชีวิตในมหา'ลัย

พูดตรง ๆ นะครับท่านผู้อ่าน สองวันที่ผ่านมา (2 - 3 มีนาคม 56) เป็นช่วงที่ผมจริงจังที่สุดในชีวิต เพราะเป็นวันที่มีการสอบ GAT/PAT (ก็คล้าย ๆ กับการสอบเอนทรานซ์สมัยก่อนนะครับ
หน่วยงานที่ออกข้อสอบได้ดีมว๊ากกกกกใน 3 โลก ต้องยกให้
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (หน้า)

การสอบ GAT/PAT นอกจากจะคล้าย ๆ กับการสอบเอนทรานซ์แล้ว ยังคล้ายกับการสอบ TOEIC หรือ TOELF ซึ่งเมื่อสอบ GAT/PAT เรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถนำคะแนนไปยื่นสำหรับศึกษาต่อในมหาลัยได้ ทั้งการรับตรง การสอบโควต้าต่าง ๆ (คะแนนเขามีอายุ 2 ปีนะครับ) ในปี ๆ หนึ่งสามารถสอบได้ 2 รอบ โดยการสอบ GAT/PAT สามารถเลือกสอบได้ (ไม่จำเป็นต้องสอบหมด ไม่งั้นสติแตก!) ตามที่มหาลัยแต่ละที่ต้องการ ดังนี้

  • ความถนัดทั่วไป (หรือที่นิยมเรียกว่า "GAT") ข้อสอบจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 
  1. การอ่านจับใจความ ก็คือ อ่านเรื่องแล้ววิเคราะห์เรื่องว่าข้อความที่โจทย์กำหนดให้ สัมพันธ์กับข้อความอีกอันอย่างไร เท่านั้นเอง
  2. ภาษาอังฤษ ก็ประกอบด้วย Conversation (Dialogue), Vocabulary, Reading Comprehension, Error Analysis (Grammar)
    การสอบนั้นแลดูจะซีเรียสมากเลยทีเดียว = ="
  • ความถนัดทางวิชาชีพ (หรือที่นิยมเรียกว่า "PAT") จะแบ่งย่อยลงไปอีก 7 วิชา ดังนี้
  1. ความถนัดทางคณิตศาสตร์ (PAT 1) เป็นการสอบที่มีแต่คณิตศาสตร์เท่านั้น โดยส่วนมากเนื้อหาจะออกพวก Calculus เรขาคณิตวิเคราะห์ เมตริกซ์ เวกเตอร์ บลา ๆ ๆ (ซึ่งผมเองก็ทำไม่ได้หรอก) ปกติแล้ว ใครได้คะแนนเกินครึ่ง ก็ถือว่าเป็นยอดมนุษย์ เพราะยากเหลือทน
  2. ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ (PAT 2) เป็นการสอบที่มีแต่วิทยาศาสตร์ (จะขยายความเพื่อ - -) โดยแบ่งเนื้อหาการสอบ 5 ส่วน คือ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ, ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
  3. ความถนัดทางวิศวกรรม (PAT 3) เป็นการสอบที่วัดแวววิศวกรรม จะมีการสอบวิชาฟิสิกส์ (โดยเฉพาะกลศาสตร์ สมบัติของสาร ไฟฟ้า) เคมี คณิตศาสตร์ (โดยเฉพาะสถิติ) และพวกมิติสัมพันธ์ ความถนัดเชิงช่าง เป็นต้น
  4. ความถนัดทางศิสถาปัตยกรรมศาสตร์ (PAT 4) เป็นการสอบที่เรียกว่าใครอยากวาดรูปก็ได้วาดสมใจ เพราะจะมีการสอบทั้งในความรู้ด้านการออกแบบ สถาปัตยกรรม และที่สำคัญมีการสอบวาดแบบในกระดาษคำตอบอีกด้วย (WTF!!!)
  5. ความถนัดวิชาชีพครู (PAT 5) เป็นการสอบที่ควรจะอินเทรนด์นิดนึงเพราะข้อสอบที่ออกจะเป็นพวกข่าวสารบ้านเมือง นอกจากนี้ยังมีในเรื่องมิติสัมพันธ์ อนุกรม ความคิดเชิงตรรกะ และความเป็นครู
  6. ความถนัดทางศิลปะ (PAT 6) เป็นการสอบที่อาจจะไม่ได้วาดรูปเหมือน PAT 4 แต่ก็สอบคล้าย ๆ กัน โดยเนื้อหาจะคลุมทั้งศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์
  7. ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (PAT 7) เป็นการทดสอบความรู้ความเข้าใจด้านภาษา ทั้งคำศัพท์ หลักไวยากรณ์ สำนวน วัฒนธรรมต่าง ๆ โดยจัดสอบย่อยลงไปตามความถนัดของตนเอง ประกอบด้วย ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน อาหรับและบาลี (ก็งงว่าจะมีใครสอบอาหรับและบาลีไหม คห.ส่วนตัวนะ อย่าดราม่า)
"ข้อสอบ PAT มีเวลาให้ 3 ชั่วโมง สำหรับข้อสอบ GAT จะแบ่งเป็นส่วนละ 1 ชั่วโมง 30 นาที"

สุดท้ายนี้...ไม่ว่าผมจะได้เรียนที่ไหน สิ่งหนึ่งที่ผมอยากเป็นคือ "อยากเป็นครู" 

แต่สำหรับการสอบนี้ ผมให้ 3 พยางค์นะ...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น